ต้นหอม

ต้นหอม SHALLOT หรือ ALLIUM ACCALONICUM LINN.
วงศ์ ALLIACEAE

ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีหัวใต้ดิน ลำต้นแตกขึ้นจากหัวสูงไม่เกิน 3-4 นิ้ว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ โคนใบมีกาบสีขาวหุ้ม ใบรูปทรงกลม กลวงด้านใน ปลายแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้นลำต้น หัวรูปทรงกลม หัวแก่มีเปลือกหุ้มสีแดง ส่วนหัวอ่อนสีขาว (ตามภาพประกอบ) หัว ต้น และใบ มีกลิ่นหอมฉุน นิยมรับประทานทั้งแบบสดกับน้ำพริกทั่วไป ลาบ ก้อย และใช้เป็นส่วนประกอบอาหารทั่วโลก

วิธีการปลูก การเพาะปลูกต้นหอมนั้นทำได้ 2 วิธี คือใช้หัวปลูก หรือใช้เมล็ดหว่าน แต่การใช้เมล็ดจะประหยัดกว่า ใช้เวลาในการปลูก 45 วัน ต้องรดน้ำทั้งเช้าเย็น จนเมื่อต้นเริ่มมีใบยื่นยาว ลดน้ำลงเหลือเพียงวันละครั้ง เคล็ดลับปลูกต้นหอมให้งามอยู่ที่การคลุมดินให้คงความชื้นไว้ แต่ระบายน้ำได้ดี โดยการนำเอาฟางแห้ง หญ้าแห้ง เปลือกถั่วลิสง หรือแกลบดิน คลุมหน้าดินไว้ ต้นหอมโตเต็มที่สามารถนำมาใช้งานได้ สูงประมาณ 1 ฟุตกว่าๆ ก็ถอนมาได้เลยค่ะ ส่วนแมลงศัตรูตัวร้ายของต้นหอมคือ เพลี้ยไฟ ใช้แลนเนท 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แล้วฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง เพื่อป้องกัน หากเกิดเพลี้ยไฟ ก็ฉีดพ่น 3-4 วันครั้ง

คุณประโยชน์ ต้นหอมแม้จะมีกลิ่นฉุน แต่รสเผ็ดร้อนของต้นหอมก็แกล้มอาหารจีน แก้เลี่ยนได้เป็นอย่างดี จะสังเกตุว่าบนโต๊ะจีนมักนิยมทานต้นหอมจิ้มมัสตาร์ด ให้รสชาติที่เข้มขึ้น อีกทั้งความฉุนของต้นหอมเมื่อนำไปบุบแล้วพอกตรงที่ถูกแมลงกัดต่อย ก็แก้ปวดได้ชะงัด แถมยังแก้อาการเป็นหวัด คัดจมูก เมื่อบุบต้นหอมดม ทำให้จมูกโล่งได้นะคะ เมื่อบริโภคต้นหอมสดๆ ยังได้เบต้าแคโรทีน มากถึง 76.30 ไมโครกรัม วิตามินซีสด 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 47 กรัม และฟอสฟอรัสถึง 33 กรัมต่อต้นหอมที่บริโภค 100 กรัม ต้นหอมยังช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตสูง และป้องกันหลอดเลือดหัวใจอุดตันอีกด้วย  ต้นหอม มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้า-แคโรทีน มีสารฟลาโวนอยด์ บางชนิดซ่อนอยู่ในใบของต้นหอม เช่น เควซีทีน สเปริโอไซด์ ซึ่งเป็นเกราะป้องกันมะเร็ง ให้กับคนได้ และยังมีสารในตัวอีกมากกว่า 10 ชนิด รับประทานแล้วได้คุณค่าประโยชน์ต่อร่างกาย แถมมีราคาถูกหาซื้อได้ง่ายตามตลาดสดทั่วไปด้วย  ช่วยในการขับเหงื่อและบำรุงหัวใจ ถ้ากินสดๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้

ที่มา : baanmaha.com
: watpo.com

pic : สวนออมสิน

Leave a comment